วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เทคนิคในการนำเสนอsequence

ใช้สื่อ time-base media ในการนำเสนอ เพราะว่ามีเวลาเข้ามาเป็นเงื่อนไขในการสร้าง sequence
โดยผลของ sequence ที่เกิดขึ้น เป็นการนำเสนอลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของเวลา

เช่น รูปทรงที่เปลี่ยนไปตามการเดินของเวลา--------------------------ความยาว-สั้นของรูปทรง
กำหนดโดยการใช้รูปทรง สี่เหลี่ยม


การเปลี่ยนองศาของวัตถุที่เกิดขึ้น ภาพก็จะแสดงไปตามองศาที่เปลี่ยนไป---ใช้มุมกล้องแสดงองศาของภาพ

มิติที่เกิดขึ้น-----------------------------------------ความชัดของภาพ=ลักษณะของเงามืด

แต่เมื่อมี interupt sequence ที่เกิดจากก้อนเมฆเข้ามาก็จะทำให้ภาพเปลี่ยนไป
ทำให้เกิด----------------------------------------ความมัวของภาพ=ลักษณะของเงามัว หรือ
ทำให้---------------------------------------sequence หยุดลง = ความมืดทำให้ภาพหายไป

โดยผมได้กำหนด เวลา ที่ได้จากความเป็นจริง แต่ปรับหน่วยให้ลดลงจากเดิมเพื่อให้การนำเสนอของ sequence
ไม่ยาวนานเกินไป เช่น เมื่อเวลาเปลี่ยนไป 4 นาที มุมกล้องเปลี่ยน 1 องศา
------------------ปรับหน่วยจาก 4 นาที เป็น 4 วินาที แทน
-----------------ทำให้เมื่อเวลาเดินไป 60 วินาที มุมกล้องเปลี่ยนไป 15องศา
-----------------เมื่อเวลาเดินไปจนครบ 6 นาที แทนเวลา 24 ชั่วโมง มุมกล้องหมุน ครบ 1 รอบ=360 องศา

เวลาที่กำหนดในการนำเสนอ sequence ก็จะอยู่ที่ 6 นาที

Project Sequence

1. สื่อที่ใช้ในการออกแบบ
- Time-base Media


2.ที่มาและความสำคัญของโครงการออกแบบ
- จากการที่ได้สังเกตเห็นเงาของตัวเองที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับตัวของเรา แต่ผมก็รู้สึกแปลกว่า ทำไมมันถึงมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในการเคลื่อนที่ ทั้งไปทางซ้าย ขวาข้างหลัง อยู่ข้างหน้าหรือว่ารูปทรงของมัน บางทียาว บางทีสั้น เมื่อเกิดการสังเกตุขึ้น การทดลองก็ตามมา ระหว่างที่ผมเดินไปมา แสงที่ส่องมาตกกระทบกับตัวผม มันทำให้เกิดเงา แต่เมื่อเราเดินออกห่างจากที่เดิมมันจะทำให้เงาเกิดการยืดตัวยาวขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราเดินกลับไปเข้าใกล้กับไฟเงาของเราก็จะลดลงเรื่อยๆ หรือเมื่อเราเดินไปที่ที่มีแสงไฟอยู่รอบๆตัว เงาที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าเราจะเดินไปตรงไหนที่มีแสงมาตกกระทบทำให้เกิดเงาในองศาต่างๆ เพื่อเป็นการศึกษาเรื่อง sequence โดยอาศัยเรื่ององศาและลักษณะของเงาที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขที่ถูกตั้งขึ้นมาเข้ามาใช้



3.วัตถุประสงค์ของโครงการออกแบบ
- เกิดความเข้าใจของคำว่า"sequence"



4.ขอบเขตของโครงการออกแบบ
- ขอบเขตของโครงการนี้จะนำเสนอลักษณะของSEQUENCEเงาที่เกิดจากเงื่อนไขต่างๆ โดยอาศับข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและการทดลอง
และนำแกนของsequenceที่ได้มาเป็นตัวนำเสนอเรื่องราว


5.แผนการดำเนินงานโครงการ
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องของเงา
- ทำการทดลอง
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาnการnดลองเพื่อประโยชน์ในการออกแบบ
- นำเสนอแบบร่างของโครงการ 
- นำเสนอผลงานใกล้เคียงจริง เพื่อนำมาพัฒนาและแก้ไขต่อไป
- นำผลงานมาแก้ไขให้ลงตัวและเหมาะสม
- ส่งผลงานขั้นสุดท้าย



6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่อง sequence ที่เกิดขึ้น
- เกิดความน่าสนใจและสามารถรับรู้ได้ไปในทางเดียวกัน



7.เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและทดลอง

sequence 3


วันนี้ผมก็ออกจากห้องนอนของตัวเอง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศเพื่อออกมาอัดปอด เพิ่มมะเร็งในร่างกาย ระหว่างที่ผมกำลังเดินดูดมะเร็งไปเรื่อยๆ ก็มองนั่นมองนี่ไปเรื่อย ผมก้าวเท้าเดินลงบันไดที่เรียงต่อกันเป็นแนวยาวลงไปข้างล่าง ทีละก้าว ตั้งแต่ขั้นที่ 1 2 3ไปทีละขั้น หรือ5 7 9เพื่อความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างนั้นผมก็สังเกตเห็นเงาของตัวเองที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับผม แต่ผมก็รู้สึกแปลกว่า ทำไมมันถึงมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาที่ผมเคลื่อนที่ ทั้งไปทางซ้ายมั่ง ขวามั่ง ไปแอบข้างหลังมั่ง หรือว่ารูปทรงของมันก็ บางทียาว บางทีสั้น ผมจึงเกิดความคิดทดลองเล่นกับเงาดูดิว่าเพราะอะไรมันถึงเป็นแบบนี้ ผมเลยไปตรงที่ที่มีไฟติดอยู่ข้างบนเพดานหนึ่งดวงแล้วก็ลองเดินไปเดินมาอยู่แถวๆนั้นสักพัก

จากการทดลองของผมกับแสงไฟบนเพดาน
-ระหว่างที่ผมเดินไปมา แสงที่ส่องมาตกกระทบกับตัวผม มันทำให้เกิดเงา แต่เมื่อเราเดินออกห่างจากที่เดิมมันจะทำให้เงาเกิดการยืดตัวยาวขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราเดินกลับไปเข้าใกล้กับไฟเงาของเราก็จะลดลงเรื่อยๆ
-ข้อสังเกตอีกอย่างนึง ถ้ามีฉากเข้ามาขวางกั้นข้างหน้า เมื่อผมเดินเข้าใกล้ฉากเรื่อยๆ เงาจะขยายตัวใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเดินออกห่างเงาก็จะเล็กลง

sequence ที่เกิดขึ้นจากการทดลอง
-แสงไฟส่องเข้ามา link กับตัวของผม ทำให้เกิดเงาขึ้น และเมื่อผมขยับตัวไปมา link กับแสงไฟที่ส่องมากระทบตัว เงาก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงยาวขึ้น เล็กลงตามลำดับ
-เมื่อผมทดลองปิดไฟจนมืดสนิท เงาของผมก็จะหายไปในทันที การปิดไฟเป็นเป็นตัวเข้ามาทำลายระบบของการ linkกัน ของแสงไฟกับตัวผม ทำให้เงานั้นหายไป
หรือที่เราเรียกมันว่า interrupt sequence

เมื่อหลังจากการทดลองครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกับลักษณะของเงาที่เกิดขึ้น แต่หลังจากนั้นผมก็ได้ทดลองกับแสงธรรมชาติดูบ้างนั่นคือแสงจากพระอาทิตย์
โดยการทดลองครั้งนี้ ผมจะไม่ใช้ตัวเองเพื่อรับแสงที่ตกกระทบ เพราะว่าถ้านานๆมันคงร้อน ไม่ไหวหรอก ผมได้ใช้ไม้หนึ่งท่อนแทน นำมาทดลองวางตั้งไว้ที่โล่งแจ้งไม่มีร่มเงาเพื่อสามารถให้แสงที่ส่องจากพระอาทิตย์สามารถส่องลงมากระทบกับไม้ได้ตลอดเวลา จากนั้นผมก็เริ่มสังเกตุการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ผมต้องการสังเกตุ
-ตำแหน่งองศาของพระอาทิตย์ที่เกิดขึ้น
-ลักษณะของเงาไม้ที่เปลี่ยนแปลงไป

จากการทดลองของผมกับแสงจากพระอาทิตย์
-ไม่ว่าพระอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปกี่องศาก็ตาม แสงที่ส่องลงมากระทบกับไม้ ไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะของเงาให้ยาวขึ้นหรือสั้นลงได้
-ลักษณะของเงาไม้จะเปลี่ยนแปลงโดยการขยับหมุนไปทีละนิด ตามการเปลี่ยนแปลงขององศาของพระอาทิตย์
-ลักษณะการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเงาในครั้งนี้เป็นเหมือนวิธีการดูเวลาของคนสมัยก่อน ที่ใช้สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของเงาไม้ หรือเรียกว่า "นาฬิกาแดด"

โลกของเราหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบ (360 องศา) ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นเราสามารถบอกได้ว่า
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป 24 ชั่วโมง โลกหมุนไป 360 องศา
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง โลกหมุนไป 360/24 = 15 องศา
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป 4 นาที โลกหมุนไป 1 องศา

sequence ที่เกิดจากการทดลอง
-แสงจากพระอาทิตย์ส่องเข้าทา link กับไม้ที่ตั้งอยู่ ทำให้เกิดเงาขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์เปลี่ยนแปลงมุมองศาไป แสงของมันก็จะ link กับไม้ ทำให้เกิดเงาที่เปลี่ยนองศาตามไปด้วย
-แสงจากพระอาทิตย์ส่องเข้าทา link กับไม้ที่ตั้งอยู่ ทำให้เกิดเงาเพื่อใช้ในการดูเวลาของคนสมัยก่อน

จากการสังเกตุและได้ทำการทดลอง ทำให้ผมเข้าใจ sequence ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเงา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะยาว-สั้นของเงา หรือการเปลี่ยนองศาของเงาที่เกิดขึ้นตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะเงื่อนไขต่างๆของ sequence ที่เข้ามาส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมเลยจะนำลักษณะเด่นของประโยชน์ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ในการออกแบบ project ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Think

ความคิดเชิงวิเคราะห์ (ANALITICAL THINKING) คือความสามารถในการสืบค้น ข้อเท็จจริงเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างโดยอาศัยใช้การตีความ การจำแนกแยกแยะ และการทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ และองค์ประกอบอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
- คือต้องใช้ความสามารถในการสังเกต การตีความ การสืบค้น ค้นหาความเป็นไปของเรื่องนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไร อะไรหรือใครเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งนั้น ก่อนสรุปความหรือตัดสินใจ  เช่น การวิเคราะห์เรื่องบุหรี่

ความคิดเชิงประยุกต์ (APPRECIATIVE THINKING) คือความสามารถในการ นำสิ่งต่างๆที่มีอยู่เดิม ไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ใหม่ได้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงจากนามธรรมเป็นรูปธรรม ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถปรับใช้สิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สอดคล้องเข้ากับบุคคล สถานที่ เวลา หรือเงื่อนไขใหม่ๆได้อย่างเหมาะสม
- การประยุกต์เป็นการนำ ภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ นำความรู้สาขาหนึ่งมาปรับใช้กับอีกสาขาหนึ่ง เป็นการปรับใช้มิใช่การลอกเลียน
เป็นการนำบางส่วนของบางสิ่งมาใช้

ความคิดเชิงเปรียบเทียบ (COMPARATIVE THINKING) การพยายามค้นหา ความเหมือนและหรือความแตกต่าง ขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป ทั้งนี้ เพื่อใช้อธิบายเรื่องเรื่องหนึ่งบนพื้นฐานของอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตรฐานหรือมาตรการบางอย่างซึ่งสามารถนำมาใช้เทียบเคียงกันและเพื่อการหยั่งรู้ความแตกต่างระหว่างของสองสิ่งนั้นได้
-อุปมาอุปไมยขึ้น เป็นการก้าวจากรูปธรรม เช่น ดอกบัวไปสู่นามธรรมคือความเป็นผู้มีปัญญาและความอดทนสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างสงบ

ความคิดเชิงมโนทัศน์ (CONCEPTUAL THINKING) คือความสามารถในการ ประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ขัดแย้ง และยังสามารถนำมา สร้างเป็นกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมาด้วย

ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE THINKING) คือการขยายของขอบเขต ความคิดออกไปไปจากแนวหรือกรอบความคิดเดิมๆที่มีอยู่ เป็นการใช้ความคิดในเชิงบวก กล้าที่จะฝ่าวงล้อมออกไปสู่แนวใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เน้นความคิดที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับหรือกฎเกณฑ์เดิมๆ หรือที่ยึดถือมาจนเคยชิน

ความคิดเชิงวิพากษ์ (CRITICAL THINKING) คือความสามารถในการคิดที่จะไม่ เห็นคล้อยตามเหตุผล หรือ ข้อกล่าวอ้างโดยทั่วไป แต่จะเป็นความคิดที่ท้าทายข้อกล่าวอ้างทั้งหลาย และกล้าโต้แย้งข้อสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังข้อกล่าวอ้าง ทั้งปวง เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า น่าจะมีโอกาสพิจารณาทางเลือกอื่น เหตุผลอื่น สมมุติฐานอื่น ซึ่งอาจสามารถทำให้ได้ข้อสรุปอื่น ที่อาจแตกต่างออกไปก็ได้

ความคิดเชิงอนาคต (FUTURE THINKING) คือความสามารถในการคาดการณ์ และประมาณการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยา สมมุติฐาน ข้อมูล และความสัมพันธ์ต่างๆของเหตุการณ์ในอดีต และปัจจุบัน เพื่อการคาดการณ์ทิศทาง หรือขอบเขตทางเลือกที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ความคิดเชิงบูรณาการ (INTEGRETIVE THINKING) คือความสามารถคิดใน การเชื่อมโยงเรื่องในมุมต่างๆเข้ากับเรื่องหลักได้อย่างเหมาะสม

ความคิดเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC THINKING) คือความสามารถในการกำหนด แนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข ข้อกำหนดต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการออกไปในมุมที่เป็นรูปธรรมอย่างเฉพาะเจาะจง

ความคิดเชิงสังเคราะห์ (SYNTHESISTYPE THINKING) คือความสามารถใน การรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกัน มาทำการหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม
ที่มา http://province.moph.go.th/banluam/Jurnal/Jurnal04/Jurnal04.html

ตัวตน

รูปภาพของฉัน
ราชบุรี, ตะวันตก, Thailand
สร้างสรรค์ + ศิลปะ