วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Think

ความคิดเชิงวิเคราะห์ (ANALITICAL THINKING) คือความสามารถในการสืบค้น ข้อเท็จจริงเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างโดยอาศัยใช้การตีความ การจำแนกแยกแยะ และการทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ และองค์ประกอบอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
- คือต้องใช้ความสามารถในการสังเกต การตีความ การสืบค้น ค้นหาความเป็นไปของเรื่องนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไร อะไรหรือใครเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งนั้น ก่อนสรุปความหรือตัดสินใจ  เช่น การวิเคราะห์เรื่องบุหรี่

ความคิดเชิงประยุกต์ (APPRECIATIVE THINKING) คือความสามารถในการ นำสิ่งต่างๆที่มีอยู่เดิม ไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ใหม่ได้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงจากนามธรรมเป็นรูปธรรม ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถปรับใช้สิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สอดคล้องเข้ากับบุคคล สถานที่ เวลา หรือเงื่อนไขใหม่ๆได้อย่างเหมาะสม
- การประยุกต์เป็นการนำ ภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ นำความรู้สาขาหนึ่งมาปรับใช้กับอีกสาขาหนึ่ง เป็นการปรับใช้มิใช่การลอกเลียน
เป็นการนำบางส่วนของบางสิ่งมาใช้

ความคิดเชิงเปรียบเทียบ (COMPARATIVE THINKING) การพยายามค้นหา ความเหมือนและหรือความแตกต่าง ขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป ทั้งนี้ เพื่อใช้อธิบายเรื่องเรื่องหนึ่งบนพื้นฐานของอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตรฐานหรือมาตรการบางอย่างซึ่งสามารถนำมาใช้เทียบเคียงกันและเพื่อการหยั่งรู้ความแตกต่างระหว่างของสองสิ่งนั้นได้
-อุปมาอุปไมยขึ้น เป็นการก้าวจากรูปธรรม เช่น ดอกบัวไปสู่นามธรรมคือความเป็นผู้มีปัญญาและความอดทนสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างสงบ

ความคิดเชิงมโนทัศน์ (CONCEPTUAL THINKING) คือความสามารถในการ ประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ขัดแย้ง และยังสามารถนำมา สร้างเป็นกรอบแนวคิดใหม่ขึ้นมาด้วย

ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE THINKING) คือการขยายของขอบเขต ความคิดออกไปไปจากแนวหรือกรอบความคิดเดิมๆที่มีอยู่ เป็นการใช้ความคิดในเชิงบวก กล้าที่จะฝ่าวงล้อมออกไปสู่แนวใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เน้นความคิดที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับหรือกฎเกณฑ์เดิมๆ หรือที่ยึดถือมาจนเคยชิน

ความคิดเชิงวิพากษ์ (CRITICAL THINKING) คือความสามารถในการคิดที่จะไม่ เห็นคล้อยตามเหตุผล หรือ ข้อกล่าวอ้างโดยทั่วไป แต่จะเป็นความคิดที่ท้าทายข้อกล่าวอ้างทั้งหลาย และกล้าโต้แย้งข้อสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังข้อกล่าวอ้าง ทั้งปวง เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า น่าจะมีโอกาสพิจารณาทางเลือกอื่น เหตุผลอื่น สมมุติฐานอื่น ซึ่งอาจสามารถทำให้ได้ข้อสรุปอื่น ที่อาจแตกต่างออกไปก็ได้

ความคิดเชิงอนาคต (FUTURE THINKING) คือความสามารถในการคาดการณ์ และประมาณการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยา สมมุติฐาน ข้อมูล และความสัมพันธ์ต่างๆของเหตุการณ์ในอดีต และปัจจุบัน เพื่อการคาดการณ์ทิศทาง หรือขอบเขตทางเลือกที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ความคิดเชิงบูรณาการ (INTEGRETIVE THINKING) คือความสามารถคิดใน การเชื่อมโยงเรื่องในมุมต่างๆเข้ากับเรื่องหลักได้อย่างเหมาะสม

ความคิดเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC THINKING) คือความสามารถในการกำหนด แนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข ข้อกำหนดต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการออกไปในมุมที่เป็นรูปธรรมอย่างเฉพาะเจาะจง

ความคิดเชิงสังเคราะห์ (SYNTHESISTYPE THINKING) คือความสามารถใน การรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกัน มาทำการหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม
ที่มา http://province.moph.go.th/banluam/Jurnal/Jurnal04/Jurnal04.html

ไม่มีความคิดเห็น:

ตัวตน

รูปภาพของฉัน
ราชบุรี, ตะวันตก, Thailand
สร้างสรรค์ + ศิลปะ