วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

sequence 2

เกรเกอร์ โจธัน เมนเดล ทดลองเรื่องพันธุกรรมโดยใช้ถั่วลันเตา ถั่วลันเตาเป็นพืชที่ไม่มีความซับซ้อน จะพบความแตกต่างง่ายๆของถั่ว เช่น ลำต้นมีลักษณะสูงและเตี้ย
จึงเป็นพืชที่เหมาะสมกับการใช้ทดลอง

ทดลอง
1.ผสมถั่วลันเตารวมกันหลายสายพันธุ์ จนได้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เป็นถั่วรุ่นแรก
2.นำพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่มีลำต้นสูง มาผสม พ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่มีลักษณะที่มีลำต้นเตี้ย เป็นการผสมข้ามต้นที่มีลักษณะของลำต้นต่างกัน ได้ถั่วรุ่นที่สอง
3.นำถั่วรุ่นที่สองมาผสมกันเอง

สรุกการทดลอง
1.จะได้ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีลักษณะเด่น คือลำต้นสูง และลักษณะด้อย คือลำต้นเตี้ย
2.จะได้ลำต้นสูงที่มีลักษณะเด่นทั้งหมด
3.จะได้ลักษณะเด่นกับลักษณะด้อย ในอัตรา 3:1

sequence ของถั่วลันเตา


หลักของพันธุกรรมนี้สามารถมาประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆได้เช่นกัน คือ ในการผสมพันธุ์ของ สัตว์หรือคน ลูกจะเหมือนพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายแต่ลูกคนใดจะนำลักษณะใด ลักษณะในที่นี้ก็คือ ยีนส์(genes) ที่เป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน แต่การถ่ายทอดในลักษณะนี้จะไม่สามารถบังคับได้ว่าลูกจะมีลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย มันไม่สามารถคาดการณ์ได้ เรียกว่า การสุ่ม(random) จนกลายมาเป็น ทฤษฎีความน่าจะเป็น

ทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้อธิบายโอกาสที่จะเป็นไปได้อย่างสุ่มซึ่งไม่สามารถบังคับได้
เช่น การโยนเหรียญ เราไม่ทราบว่าเหรียญจะออกหัวหรือก้อย หรืออาจกล่าวได้ว่าเหรียญอาจออกหัวหรือก้อยด้วยโอกาสเท่า ๆ กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

ตัวตน

รูปภาพของฉัน
ราชบุรี, ตะวันตก, Thailand
สร้างสรรค์ + ศิลปะ